สำนักงานบัญชีรักษ์บัญชี ขอนำเสนอบริการจดทะเบียนพาณิชย์ ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ ราคายุติธรรม
ผู้ประกอบการตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าให้เหมาะสมกับ ลักษณะของกิจการค้า เงินลงทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ กรณีเลือกจัดตั้งในรูปแบบนิติบุคคล
ซึ่งในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซึ่งมีค่าใช้จ่าย ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ซึ่งปัจจุบันกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีบริการจองชื่อ/จดทะเบียน ผ่านเว็บไซต์ http:www.dbd.go.th
เหตุผลที่เจ้าของกิจการที่เลือกใช้บริการของสำนักงานบัญชี ฯ ในการจัดตั้งบริษัท/ห้างหุ้นส่วน มีขั้นตอนการจัดตั้งที่มีข้อปลีกย่อยหลายประการ เช่น การจองชื่อนิติบุคคล การทำตรายาง การกรอกแบบฟอร์ม และหลักฐานประกอบการขอจดทะเบียน ฯ รวมทั้งใช้เวลารอ ดังนั้นการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชี ซึ่งมีความชำนาญจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเจ้าของธุรกิจ
บริการของเรา
1. บริการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (Company Limited)
2. บริการจดทะเบียนแก้ไข/เปลี่ยนแปลงบริษัท
3. บริการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership)
4. บริการจดทะเบียนห้างหุ้วนส่วนสามัญนิติบุคคล (Registered Ordinary)
5. บริการจดทะเบียนแ้ก้ไข/เปลี่ยนแปลงห้างหุ้นส่วน
อัตราค่าบริการ (ไม่รวมอัตราค่าธรรมเนียม)
ค่าบริการ | บาท |
จัดตั้งบริษัท | 5,000 |
จัดตั้งห้างหุ้นส่วน | 3,500 |
เปลี่ยนแปลงห้างหุ้นส่วน | 3,500 |
เปลี่ยนแปลงบริษัท | 3,500 |
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัท | 8,000 - 10,000 |
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ Link กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- รูปแบบองค์กรธุรกิจ
- ทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
- บริษัทจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด
ตารางค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมจัดตั้งบริษัท-จ่ายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
จดทะเบียน-บริษัท (ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท) | บาท |
ค่าอากรแสตมป์หนังสือบริคณห์สินธิ บอจ. 2 | 200.00 |
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สินธิ บอจ. 2 | 450.00 |
จัดตั้งบริษัทตามทุนจดทะเบียน | 5,000.00 |
หนังสือรับรอง ฉบับละ 200 | 200.00 |
ค่ารับรองเอกสารหน้าละ 50 บาท | 500.00 |
รวม | 6,350.00 |
ค่าธรรมเนียมจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท | บาท |
ค่าธรรมเนียมทุนจดทะเบียน | 1,000.00 |
ค่าหนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท ฉบับละ 200 บาท | 200.00 |
ค่ารับรองเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท | 50.00 |
ใบสำคัญห้าง | 100.00 |
รวม | 1,350.00 |
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เขตหลักสี่ และอำเภอเมืองนนทบุรี
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถทำได้ 2 วิธี
1. จดทะเบียน Online ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพกร http://www.rd.go.th
เมื่อกรอกแบบฟอร์มขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว ภายใน 15 วัน สรรพากรพื้นที่จะเข้าพบเ้จ้าของกิจการ ณ สถานประกอบการ เพื่อตรวจสอบประกอบคำขอจดทะเบียนและเรียกเอกสารหลักฐานประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงจะรับจดทะเบียน
2. ยื่นขอจดทะเบียนด้วยตนเอง ณ สรรพากรพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
เอกสารที่ใช้ประำกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม-สำหรับนิติบุคคล (กรณียื่นด้วยจดทะเบียนที่สรรพากรพื้นที่)
1. แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
2. แบบฟอร์มคำขอใช้สิทธิเพื่อขอจดะทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01.1 3 ฉบับ (กรณีขอใช้สิทธิก่อนรายรับยังไม่ถึง 1.8 ล้านบาท)
3. ภาพถ่ายสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น โดยไม่มีค่าตอบแทน) พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
4. ภาพถ่ายหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมฉบับจริง (กรณีเป็นนิตุิบุคคลต่างด้าว)
5. ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (กรณีเป็นบุคคลต่างด้าว)
6. ภาพถ่ายสถานประกอบการ 2 รูป
- ภาพถ่ายที่มีบ้านเลขที่และป้ายชื่อของบริษัท / ห้างหุ้นส่วน
- ภาพถ่ายด้านหน้าสถานประกอบการ
7. แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป
8. หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท / ห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
9. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท /ห้างหุ้นส่วน
10. กรณีมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
หมายเหตุ
1. เอกสารเบื้องต้นในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เอกสารประกอบอื่น ๆ ตามรูปแบบการจัดตั้งนิติบคคล
2. กรมสรรพากรรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ยื่นขอจดทะเบียนหากเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน
ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของบริษัทจำกัด
หน้าที่ของบริษัทจำกัด
1. บริษัทจำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้ สอบบัญชีอย่างน้อย หนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
2. จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
3. ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน มิฉะนั้น จะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
อนึ่ง คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และ
ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท ก่อนนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ เพื่อลงมติพิเศษให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน
4. ต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
5. ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
6. บริษัทใดย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ในกรณีนิติบุคคลไม่จัดส่งงบการเงินประจำปีตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนิติบุคคลจะมีความผิดแล้วกรรมการผู้จัดการหรือกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ก็มีความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับนิติบุคคลด้วย
ที่มา : เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า